อนุทินที่ 2 แบบฝึกหัดทบทวน
1.
ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
สังคม
คือกลุ่มของคนตั้งแต่สองคนขึ้นไปที่เข้ามาอยู่รวมกันจนมีวัฒนธรรมหรือระเบียบแบบแผนในการดำรงชีวิตเป็นของตนเอง
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันในการดำรงชีวิต
ทั้งทางด้านความจำเป็นพื้นฐานและความอยู่รอดปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
ด้วยความจำเป็นของการอยู่รวมกันเป็นกลุ่มสังคมภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกันและมีกิจกรรมร่วมกันเหล่านี้
ทำให้เกิดแนวคิด ความเชื่อ และวิถีชีวิตอย่างเดียวกัน
ในที่สุดก็จะพัฒนาไปสู่การมีเอกลักษณ์และวัฒนธรรมร่วมกันของสังคมนั้น
เมื่อมนุษย์จำนวนมากมาอยู่รวมกันเป็นสังคมย่อมต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กันเพื่อแลกเปลี่ยนปัจจัยในการดำรงชีวิต
ซึ่งต่างคนย่อมมีความรู้ ความคิดเห็น และจิตใจที่แตกต่างกัน อาจก่อให้เกิดข้อขัดแย้งกันระหว่างสมาชิกในสังคมด้วยกันได้
ซึ่งจะทำให้สังคมขาดความเป็นระเบียบ เกิดความไม่สงบวุ่นวายและเสียหายขึ้น
นำไปสู่ความล่มสลายของสังคมนั้นในที่สุด
จึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างกฎเกณฑ์และกติกาต่าง ๆ
ขึ้นใช้บังคับแก่สมาชิกในสังคม เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกัน
และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมไว้
ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุขขึ้นได้ กฎเกณฑ์หรือกติกาดังกล่าวคือกฎหมาย
ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่กำหนดให้คนในสังคมต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสงบสุขและเรียบร้อยภายในสังคม
โดยมีองค์กรหรือสถาบันที่คอยส่งเสริมแนะนำให้คนปฏิบัติตามกฎหมายและคอยควบคุมมิให้คนในสังคมฝ่าฝืนกฎหมาย
ซึ่งจะมีการกำหนดบทลงโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนไว้ด้วย
2.
ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
กฎหมายเปรียบเสมือนหลักยึดเหนี่ยวด้านการประพฤติของมนุษย์ในสังคม
สมาชิกทุกคนในสังคมจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติและรักษาความสงบเรียบร้อยในสังคมเอาไว้ นอกจากนี้กฎหมายยังควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกัน
ลดการเลื่อมล้ำทางสังคมทั้งทางด้านฐานะ การศึกษา และการเป็นอยู่ในสังคม เมื่อสังคมไม่มีกฎหมาย
ขาดความเป็นระเบียบ เกิดความไม่สงบวุ่นวายและเสียหายขึ้น ก็จะนำไปสู่ความล่มสลายของสังคมนั้น
ๆ ในที่สุด
3.
ท่านมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก.
ความหมาย
กฎหมายคือ คาสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์
จากคณะบุคคลที่มีอานาจสูงสุดของรัฐ
เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ
จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกาหนดบทลงโทษ
ข.
ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ลักษณะหรือองค์ประกอบแบ่งได้ 3
ประการคือ
1.
เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอานาจสูงสุด
อาทิ รัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติ หัวหน้าคณะปฏิวัติ กษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
สามารถใช้อานาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่น รัฐสภา ตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี
ตราพระราชกาหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติ
ออกคาสั่ง หรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่าง ๆ ถือว่าเป็นกฎหมาย
2.
มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับ อันมิใช่คำวิงวอน ประกาศ หรือแถลงการณ์ อาทิ
ประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์
ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ
พ.ศ. 2545 พระราชกาหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นต้น
3.
ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาค เพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติ สังคมจะสงบสุขได้
เช่น กฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้
แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีรายได้ การแจ้งคนเกิดภายใน 15
วัน แจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมง
ยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกิน เมื่ออายุย่างเข้า 18 ปี
เข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจำการเมื่ออายุย่างเข้า 21
ปี เป็นต้น
4. มีสภาพบังคับ
ซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทำและการงดเว้น
การกระทำตามกฎหมายนั้น ๆ
กำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญา
คือ โทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่น รอลงอาญา ปรับ จำคุก กักขัง
ริมทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่ง ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องชดใช้ค่าสินไหม
ทดแทน หรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใด
อย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่น
บังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ย
บังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขาย เป็นต้น
ค.
ที่มาของกฎหมาย
1.
บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากร รัฐธรรมนูญ
พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว
ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี
เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติ
เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนะตามกติกา
หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย
อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้
ย่อมถือว่าไม่มีความผิด เพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา
ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนด จึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา
เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์
ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทพร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา
ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูง เป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง
ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่ง ความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้
จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5.
ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมาย
อย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้
ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว
เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ ๆ บัญญัติว่า “การถืออาวุธ
ในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุน”
ต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่า
“การถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิด” จึงได้แก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว
ง.
ประเภทของกฎหมาย
การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน
การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆ ไปดังนี้
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1.
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ
1.2
กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระ
บวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18
วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน
2.2
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
3.
กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1
กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก
3.2
กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ
4.
กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน
4.1
กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น
ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น
เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ
4.2
กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมาย
แพ่งและพาณิชย์
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน
การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
2.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน
รัฐต่างรัฐๆ
3.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ
ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจารณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
4.
ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
กฎเกณฑ์และกติกาต่าง
ๆ บังคับใช้แก่สมาชิกในสังคม
เพื่อควบคุมความประพฤติของสมาชิกให้ปฏิบัติอยู่ในกรอบเป็นไปในทำนองเดียวกัน และรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคมไว้
ซึ่งจะทำให้สังคมเกิดความสงบสุขขึ้นได้ กฎเกณฑ์หรือกติกาดังกล่าวคือกฎหมาย
ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ความประพฤติที่กำหนดให้คนในสังคมต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความสงบสุขและเรียบร้อยภายในสังคม
ผู้ที่อยู่ร่วมกันในสังคมจึงต้องยึดมั่นและเคารพต่อหลักเกณฑ์ของกฎหมายในบ้านเมืองที่กำหนดไว้
ต้องไม่พยายามหาช่องว่างหรือช่องโหว่ของกฎหมายเพื่อหาทางหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย
และไม่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นกฎหมายจึงเป็นเครื่องมือในการสร้างความสงบสุขและความเป็นธรรมให้แก่บุคคลในสังคม
ให้มีสิทธิและหน้าที่โดยเท่าเทียมกัน
5.
สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์
เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใด
ๆ ไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่าง ๆ ในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา
ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง
ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
6.
สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ
1.1
สภาพบังคับทางอาญา
ได้กำหนดวิธีการบังคับไว้ตามสภาพแห่งความผิดและกำหนดโทษแต่ละอย่างไว้ชัดแจ้งตามกฎหมายเฉพาะอย่าง
ที่วางไว้ อาทิ ประมวลกฎหมายอาญา และตามพระราชบัญญัติอื่น มีการกำหนดโทษคือ
ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับและริบทรัพย์สิน นอกจากนี้ หากเป็นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน
จะมีสภาพบังคับที่แตกต่างออกไปได้แก่
การส่งตัวเด็กไปยังโรงเรียนหรือสถานฝึกอบรมหรือสถานกักและอบรม เป็นต้น
1.2
สภาพบังคับในทางแพ่ง มุ่งหมายไปที่การเยียวยาให้แก่ผู้เสียหายเพื่อให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด
นอกจากนี้กฎหมายยังกำหนดไว้เช่นกัน ได้แก่
การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะ หรือโมฆียะ การบังคับชำระหนี้ การริบมัดจำ
การเรียกเบี้ยปรับ การใช้ค่าเสียหายและการยึดทรัพย์ เป็นต้น กล่าวคือ
ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ล่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล
ก็อาจจะถูกยึดทรัพย์มาขายทอดตลาด เอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล
หรือมิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล
7.
ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
แบ่งเป็น
2 ระบบดังนี้
1. ระบบซีวิลลอร์ (CIVIL
LAW SYSTEM) หรือระบบลายลักษณ์อักษร กำเนิดขึ้นในทวีปยุโรป เป็นระบบเอามาจาก
“JUS CIVILE” ใช้แยกความหมาย “JUS GENTIUM” ของโรมันซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมายแต่เป็น
บรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้นเริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญจะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้
2. ระบบคอมมอนลอว์ (COMMON
LAW SYSTEM) จุดกำเนิดอยู่ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า
“เอคควิตี้ (EQUITY)
เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษรนำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษาซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองการวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด
8.
ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วย
อะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด
อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้
1.
กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลัก
โดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น
อาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ
1.2
กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
เป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ เช่น จารีตประเพณี
หลักกฎหมายทั่วไป
2.
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18
วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ
หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา
2.2
กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
เช่น การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้
การให้ชดใช้ค่าเสียหาย หรือการที่กฎหมายบังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม
อนึ่ง สำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้งยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีกตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
พ.ศ. 2539
3.
กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1
กฎหมายสารบัญญัติ แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนด
เป็นองค์ประกอบแห่งความผิดหรือเป็นสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน
ซึ่งจะก่อให้เกิดผล
มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนดการกระทำผิด
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด
และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตราเป็นกฎหมายสารบัญญัติ
3.2
กฎหมายวิธีสบัญญัติ กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา
การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน
การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณาคดีในศาล การลงโทษแก่ผู้กระทำผิด
สำหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆไว้
เป็นวิธีการดำเนินคดีเริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้เป็นไปคำพิพากษา
ยังมีกฎหมายบางฉบับมีทั้งที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็นประเภทใด
เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดีล้มละลายรวมอยู่ด้วย
การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน
4. กฎหมายมหาชน
และกฎหมายเอกชน
4.1
กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐเป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็นเครื่องมือในการควบคุมสังคม คือ
กฎหมายมหาชน ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
กฎหมายปกครองกำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ และการบริการสาธารณะด้านต่าง
ๆ แก่ประชาชน กฎหมายอาญา เพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม
รัฐต้องลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิด สำหรับวิธีและขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา
บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และพระบัญญัติอื่น ๆ
เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
4.2
กฎหมายเอกชน เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา
มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่าย มีผลผูกพัน
โดยการทำสัญญา ปฏิบัติตามกฎหมายครบทุกประการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไปปฏิบัติตามหน้าที่ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
1.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน
ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ 1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 2) ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 3)
มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 4) เป็นเอกราช 5) มีอธิปไตย เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
กฎหมายที่เป็นจารีตประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น
หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตเอกสิทธิในทางการทูต
2.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ เช่น
พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น
ๆ
3.
กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา
เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจราณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้
เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
9.
ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ศักดิ์ของกฎหมาย (Hierarchy of
laws) เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมาย หรืออาจกล่าวได้ว่า
อาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อานาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไรนั้น
จะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า
จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ และเราจะพิจารณาอย่างไร
โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
1. การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ
ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
2. การให้รัฐสภาเป็นการทุ่นเวลา
และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
3. ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
อาจแบ่งได้เป็น
1.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
2.
พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
3. พระราชกำหนด
4.
ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับ
5. พระราชกฤษฎีกา
6. กฎกระทรวง
7. ข้อบัญญัติจังหวัด
8. เทศบัญญัติ
9.
ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรม รูปทรงม้า
และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศ
เป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม
และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกาย ประชาชน
ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
กระผมมีความคิดว่า
เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง เนื่องจากการชุมนุมมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียกร้องหรือแสดงความเห็นในเรื่องต่าง
ๆ ถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่ควรมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบ
รัฐบาลอาจขัดขวางการชุมนุมเพื่อประชาชนที่อาศัยทั่วไปได้
แต่การลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมและไม่ควรกระทำอย่างยิ่ง
เนื่องจากรัฐธรรมนูญ ระบุชัดเจนว่าว่า
1.
สิทธิในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ชาวไทยทุกคนย่อมได้รับความคุ้มครอง เกียรติยศ
ชื่อเสียง และความเป็นอยู่ส่วนตัว
2.
สิทธิอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี
บุคคลในท้องถิ่นและชุมชนต้องช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม
ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไป
3. สิทธิในทรัพย์สิน
บุคคลจะได้รับการคุ้มครองสิทธิในการครอบครองทรัพย์สินของตนและการสืบทอดมรดก
4.
สิทธิในการรับการศึกษาอบรม บุคคลย่อมมีความเสมอภาคในการเข้ารับการศึกษาขึ้นพื้นฐาน
12 ปี อย่างมีคุณภาพและทั่วถึง โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
5.
สิทธิในการรับบริการทางด้านสาธารณสุขอย่างเสมอภาคและได้มาตรฐาน สำหรับผู้ยากไร้จะได้รับสิทธิในการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
6.
สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองโดยรัฐ เด็กเยาวชน สตรี
และบุคคลในสังคมที่ได้รับการปฏิบัติอย่างรุนแรงและไม่เป็นธรรมจะได้รับการ
คุ้มครองโดยรัฐ
7.
สิทธิที่จะได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ เช่น บุคคลที่มีอายุเกินหกสิบปี
และรายได้ไม่พอต่อการยังชีพ รัฐจะให้ความช่วยเหลือ เป็นต้น
8.
สิทธิที่จะได้สิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ
โดยรัฐจะให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะแก่บุคคลในสังคม
9. สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชน
ในการบำรุงรักษาและการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
10.
สิทธิที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสารจากหน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นอย่างเปิดเผย
เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะมีผลต่อความมั่นคงของรัฐหรือความปลอดภัยของ
ประชาชนส่วนรวม หรือเป็นส่วนได้ส่วนเสียของบุคคลซึ่งมีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
11. สิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์โดยได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันควรตามบทบัญญัติของกฎหมาย
12.
สิทธิที่บุคคลสามารถฟ้องร้องหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรของรัฐที่เป็นนิติบุคคลให้รับผิดชอบการกระทำหรือละเว้นการกระทำ
ตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐภายในหน่วยงานนั้น
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
กฎหมายการศึกษา คือ
บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
เป็นบทบัญญัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้มีกฎหมายการศึกษาขึ้นที่จะเชื่อมโยงกับกฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษา
คือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้
และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรก คือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และกฎหมายการศึกษาได้กาหนดเพื่อให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตามไปสู่การพัฒนาคนและสังคมสู่ความเจริญงอกงาม
ธำรงไว้ซึ่งอิสรภาพ เสรีภาพของบุคคลและประเทศชาติ
12. ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาท่านคิดว่า
เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู
จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง
การที่เราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา เปรียบเหมือนเราอยู่บนเรือลำหนึ่งที่กำลังแล่นอยู่กลางทะเลอันกว้างใหญ่
กฎหมายเปรียบเสมือนเข็มทิศที่บอกเส้นทางให้เราไปถึงฝั่ง แน่นอนว่า
หากเราไม่มีเข็มทิศนี้ในการเดินเรือ เราย่อมหลงทางและลอยเคว้งคว้างอยู่ในทะเล
ได้แต่รอวันที่เรือลำนี้ผุพังและจมดิ่งลงสู่ก้นมหาสมุทร
กฎหมายจึงเป็นที่ยึดเหนี่ยวพฤติกรรมของบุคคลให้ดำรงอยู่ในความถูกต้อง
มีระเบียบแบบแผน ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมและศีลธรรมอันดีงาม ดังนั้น
เราจึงควรเรียนรู้กฎหมายการศึกษาเพื่อการเป็นครูที่ดี
มีวิชาชีพและเป็นครูมืออาชีพที่สามารถนำกฎหมายการศึกษาไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องจนเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น