สอบปลายภาค
1.
ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย
เหมือนหรือต่างกันอย่างไร (5 คะแนน)
ศีลธรรม
ศีลธรรม ความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2525
หมายถึง ความประพฤติประพฤติชอบ ธรรมในระดับศีล
แต่ถ้าจะได้ความหมายชัดเจนจึงควรสรุปว่า
ศีลธรรม หมายถึง
หลักแห่งความประพฤติดีประพฤติชอบอันเนื่องมาจากคำสอนทางศาสนา
และเป็นศัพท์บัญญัติที่ตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า morals หรือ morality
ศีลธรรม ในคำวัดหมายถึง เบญจศีล และ เบญจธรรม คือศีล 5
และธรรม 5 ซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ของสังคมระดับต้นสำหรับให้สมาชิกสังคมประพฤติปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสงบสุข
ไม่สดุ้งกลัว ไม่หวาดระแวงภัย เป็นหลักประกันสังคมที่สำคัญ สังคมที่สงบสุข
ไว้วางใจกันได้ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน ไม่เบียดเบียน ไม่ทะเลาะ ไม่กดขี่ข่มเหง
ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นต้น ก็เพราะสมาชิกของสังคมยึดมั่นอยู่ในหลักศีลธรรมนี้
ศีลธรรม หมายถึงอะไร ความหมายของศีลธรรม ศีลเป็นสิ่งที่ดีงาม
ศีลต้องอยู่ที่กาย ที่วาจา ธรรมอยู่ที่ใจ เมื่อเรามีกาย มีวาจาที่มีศีลมีธรรมแล้ว
นั่นแหละเป็นเครื่องนำชีวิตของเราให้ไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้
ศีล แปลว่า สมบัติ ทุกคนต้องการสมบัติ ก็เอาศีลมาเป็นเครื่องประดับ
เครื่องประดับคือศีลนี้ ท่านบอกว่า งามทุกเพศทุกวัย เด็กเอาไปประดับก็งาม
หนุ่มสาวเอาไปประดับก็งาม คนแก่เอาไปประดับก็งาม มันไม่เหมือนกับเครื่องประดับ
คือเสื้อผ้า เสื้อผ้านั้น งามเฉพาะเพศ เฉพาะวัย เสื้อผ้าของเด็ก
ผู้ใหญ่เอาไปใส่ก็ไม่งาม เสื้อผ้าของหนุ่มสาว คนแก่เอาไปใส่ก็ไม่งาม
เสื้อผ้าของคนแก่ หนุ่มสาวเอาไปใส่ก็ไม่งาม งามเฉพาะเพศเฉพาะวัย
แต่เครื่องประดับคือศีลนี้ งามทุกเพศทุกวัย
ดังนั้น ศีล จึงแปลว่า สมบัติ และสมบัติที่เราจะได้นั้น
จำเป็นต้องมีศีลก่อน ถ้าขาดศีล ก็ขาดสมบัติ จะรักษากายวาจาให้เรียบร้อย
ก็ต้องมีศีล ซึ่งตามปกติกายวาจามักจะเรียบร้อยยาก แต่ถ้ามีศีลเข้าไปกำกับ
มันก็จะเรียบร้อยดี
ส่วน ธรรมะ หมายถึง ทรงไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติ ดังนั้น
ผู้ที่ต้องการความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ต้องมีธรรมะ 4 ข้อไว้ประจำใจ นั่นก็คือ
1. ความจริงใจ ซื่อตรง
ซื่อสัตย์ พูดจริง ทำจริง จะอยู่ที่ไหน อยู่ในฐานะเช่นใด ก็ขอให้เป็นคนซื่อสัตย์
ทั้งต่อตนเองและคนอื่นรอบข้าง
2. การฝึกฝนข่มใจ
เมื่อมีความซื่อสัตย์ จริงใจแล้วยังไม่พอ ต้องมีการข่มใจ ฝึกฝน ฝึกนิสัยและปรับตัว
รู้จักควบคุมจิตใจ ฝึกหัดดัดนิสัย แก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงตนเองให้เจริญก้าวหน้า
ด้วยปัญญาความรู้
3. ความอดทน เมื่อมีความซื่อสัตย์ จริงใจแล้ว ฝึกฝนข่มใจแล้ว ก็ยังไม่พอ
จำต้องมีความอดทน ตั้งหน้าทำหน้าที่การงานด้วยความขยันหมั่นเพียร เข้มแข็ง ทนทาน
ไม่หวั่นไหวในจุดมุ่งหมาย บางคนซื่อสัตย์จริง ข่มใจจริง แต่ไม่อดทน
เจอเรื่องหนักใจก็ยอมแพ้ สู้ไม่ไหว ต้องอดทนด้วย จึงจะถึงจุดหมาย
4. ความเสียสละ เป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก ต้องมีความเสียสละ
เสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง
ผู้มีน้ำใจเสียสละ มีจิตใจโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ทุกคนในสังคม
ช่วยเหลือเท่าที่เห็นว่าสมควรจะช่วยเหลือได้ เห็นใครควรแก่การช่วยเหลือก็ช่วยเหลือตามกำลังมากบ้างน้อยบ้าง
หรือบางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังกาย บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์
บางครั้งก็ช่วยเหลือด้วยกำลังสติปัญญา ทุก ๆ ครั้งที่ช่วยเหลือ
ก็มีความกรุณาสงสารเป็นเบื้องหน้า
มุ่งที่จะปลดเปลื้องความทุกข์ของผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
ทัศนะตะวันตก
Morality ในทัศนะตะวันตกมาจากภาษาลาตินว่า “moralitas” ที่แปลว่า
“กิริยา, ลักษณะ และการปฏิบัติอันเหมาะสม”
(manner, character, proper behavior) มีความหมายหลักสามประการ
- ประการแรกหมายถึงประมวลความประพฤติ (code of conduct) หรือความเชื่อซึ่งถือเป็นหลักวัดความถูกและผิด “จริยธรรม”
เป็นสิ่งที่ไม่เป็นกลางที่ขึ้นอยู่กับการให้คำจำกัดความของสังคม
หลักปรัชญา หลักศาสนา และ/หรือ ทัศนคติของแต่ละบุคคล
ฉะนั้นกฎการปฏิบัติจึงเปลี่ยนไปตามกาลเวลาหรือกฎการปฏิบัติที่ถือว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องในสมัยหนึ่งอาจจะถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติในสมัยต่อมา
หรือมาตรฐานของกฎการปฏิบัติอันเหมาะสมของสังคมหนึ่งอาจจะไม่เป็นที่ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติในอีกสังคมหนึ่งเป็นต้น
- ประการที่สองในความหมายอย่างกว้างๆ
ศีลธรรมหมายถึงกฎความเชื่อและหลักปฏิบัติอันเป็นอุดมคติ เช่น ในปรัชญาที่ว่า “การฆาตกรรมเป็นการผิดจริยธรรม” ซึ่งในการตีความหมายในข้อแรกอาจจะไม่เห็นว่าเป็นสิ่งผิดด้วยเหตุผลบางประการก็เป็นได้แต่ก็อาจจะบ่งว่าไม่ควรจะใช้เป็นกฎการปฏิบัติเพราะเป็นความเชื่อโดยทั่วไป
กรณีที่ว่านี้เรียกว่าวิมตินิยมทางศีลธรรม (moral skepticism)
- ประการที่สาม “ศีลธรรม” มีความหมายพ้องกับคำว่าจริยธรรมหรือจริยศาสตร์ (Ethics) จริยศาสตร์เป็นการศึกษาของระบบปรัชญาที่เกี่ยวกับจริยธรรม[2] จริยศาสตร์แสวงหาคำตอบของปัญหาต่าง ๆ เช่นการกระทำเช่นใดจึงจะทำให้เกิดผลทางจริยธรรมในสถานการณ์ที่ระบุ
(จริยศาสตร์ประยุกต์/applied ethics) คุณค่าของจริยธรรมวัดกันได้อย่างไร
(จริยศาสตร์เชิงปทัสถาน/normative ethics) ผู้มีจริยธรรมปฏิบัติตามกฎใด
(จริยศาสตร์เชิงพรรณนา/descriptive ethics) พื้นฐานของจริยศาสตร์หรือจริยธรรมคืออะไรและรวมทั้งปัญหาที่ว่ามีจุดประสงค์ที่เป็นกลางหรือไม่
(อภิจริยศาสตร์ metaethics) และ
จริยศาสตร์และจริยธรรมวิวัฒนาการขึ้นได้อย่างไรและธรรมชาติของสองสิ่งนี้คืออะไร
(จิตวิทยาศีลธรรม/moral psychology)
จารีตประเพณี (อังกฤษ: mores)
จารีตเป็นบรรทัดฐานที่กำหนดให้คนในสังคมประพฤติปฏิบัติอย่างเข้มงวด
มีการควบคุมที่รุนแรงเพื่อป้องกันการฝ่าฝืน
โดยคนในสังคมนั้นถือว่าแบบแผนการปฏิบัติดังกล่าวเป็นสิ่งดีสิ่งงาม
ผู้ละเมิดเป็นคนผิดคนชั่ว เป็นต้น จารีตประเพณีจึงมีลักษณะเป็นข้อห้าม (อังกฤษ: taboo)
เช่น การห้ามสมรสกันระหว่างญาติสืบสายโลหิต และขอให้ปฏิบัติ เช่น
ต้องช่วยเหลือผู้อื่น เป็นต้น อันใดจะเป็นจารีตประเพณีได้
ต้องเป็นแนวประพฤติปฏิบัติที่ดำเนินสืบ ๆ ต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน
โดยผู้ปฏิบัตินั้นรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติตาม เป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติเช่นเดียวกับกฎหมาย
อภิชาติ วัชรพันธุ์ (2560; 2) ได้กล่าวว่า
จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน
หากนาไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น
การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทาร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย
อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้
ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา
ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กาหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
จารีตประเพณีนั้นวิวัฒนามาจากศีลธรรม (อังกฤษ: morality)
ซึ่งเกิดแต่ความรู้สึกนึกคิดของมนุษย์แต่ละคนว่าการกระทำอย่างไรชอบ
อย่างไรไม่ชอบ เกิดจากมโนสำนึกและมโนธรรมของแต่ละคน มีขึ้นได้เพราะแต่ละคนมีสติปัญญาจะหยั่งรู้ว่าเมื่อตนกระทำอย่างไรไปแล้ว
อีกฝ่ายจะรู้สึกนึกคิดอย่างไร และจะมีปฏิกิริยาอย่างไร
ลักษณะของจารีตประเพณี
- ต้องเป็นจารีตประเพณีที่เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติของคนในสังคม
- จารีตประเพณีนั้นต้องไม่ขัดต่อกฎหมายบ้านเมือง
หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองหรือศีลธรรมอันดีทั้งหลายของคนในสังคม
- จารีตประเพณีนั้นต้องเป็นจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น
ซึ่งความหมายของจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้น
หมายถึงจารีตประเพณีของประเทศไทยเรานั่นเอง
- จารีตประเพณีนั้นต้องมีเหตุผลและความเป็นธรรม
กฎหมาย
กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์
จากคณะบุคคลที่มีอานาจสูงสุดของรัฐ
เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
อาจสรุปได้ว่า ศีลธรรมนั้นมีอยู่ในทุกสังคมมาแต่โบราณกาล
และเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติอย่างเดียวกับกฎหมายเช่นกัน
แต่ก็มีความแตกต่างกับกฎหมายในหลาย ๆ ด้าน อย่างไรก็ดี
ศีลธรรมกับกฎหมายนั้นก็มีความสัมพันธ์กันในฐานะที่เป็นวิวัฒนาการแห่งกัน
เป็นต้นว่า มีกฎหมายหลายบทหลายมาตราที่กำหนดว่าการกระทำที่ขัดต่อ
"ศีลธรรมอันดีของประชาชน"เป็นสิ่งที่กฎหมายไม่รับรู้
แต่กรณีนี้ต้องเป็นศีลธรรมที่คนหมู่ยืดถือร่วมกัน ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง
และต้องเป็นศีลธรรมอันดีด้วย เมื่อศีลธรรมนั้นได้รับการประพฤติปฏิบัตินานเข้า ๆ
และเกิดความรู้สึกร่วมกันว่าจะต้องปฏิบัติเช่นนั้น
ก็กลายเป็นกฎเกณฑ์ควบคุมความประพฤติที่เรียกว่า "จารีตประเพณี"
ดังกล่าวมาแล้ว จารีตประเพณีนี้มีสภาพบังคับสำหรับกรณีที่มีการฝ่าฝืน คือ
สมาชิกในสังคมนั้นจะร่วมกันประณามหรือเกิดความรู้สึกเป็นผิดเป็นชั่วสำหรับผู้ฝ่าฝืนจารีตประเพณี
ซึ่งสภาพบังคับเช่นนี้บางทีก็ไม่ชัดเจน กระนั้น จารีตประเพณีเป็นเรื่องอันครอบคลุมทุกมิติของสังคมมากกว่ากฎหมาย
กฎหมายจึงใช้จารีตประเพณีอุดช่องว่างของกฎหมาย เช่น
ที่กำหนดในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่า ในกรณีที่กฎหมายไม่ครอบคลุม
ก็ให้เอาจารีตประเพณีมาใช้ ศีลธรรม จารีตประเพณี ศาสนา และกฎหมายจึงเป็นส่วนหนึ่งในการรักษาความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นในสังคมมนุษย์
สอดคล้องกับคากล่าวที่ว่า “ที่ใดมีสังคมที่นั้นมีกฎหมาย”
(สมยศ เชื้อไทย, 2538; 27 อ้างถึงใน อภิชาติ วัชรพันธุ์, 2560; 2)
2.
คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร
มีการจัดอย่างไร โปรดยกตัวอย่าง
รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ คำสั่งคสช.
พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง (5
คะแนน)
ได้มีนักวิชาการ (ดิเรก ควรสมาคม,
2547, 76; ศรีราชา เจริญพานิช, 2548, 130) ได้กล่าวว่าคำว่า
“ศักดิ์ของกฎหมาย” พอที่จะสรุปได้ว่า “เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน”
จากประเด็นดังกล่าวพอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร
ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือบทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า
จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้และเราจะพิจารณาอย่างไร
โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย โดยใช้เหตุผลที่ว่า
(1)
การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญ
เป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น เช่น
พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน
(2)
การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม
(3)
ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น
การจัดลำดับความสำคัญตามศักดิ์ของกฎหมาย
(Hierarchy
of laws) พอที่จะสรุปได้ดังนี้
1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน
หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้
กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ
ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ
ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. ประกาศของคณะปฏิวัติ (บางครั้งเรียกว่า คำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน)
ซึ่งเป็นกฎข้อบังคับอีกรูปแบบหนึ่งในทางวิชาการและในทางปฏิบัติที่ถือว่าเป็น “กฎหมาย” ออกโดยหัวหน้าคณะปฏิวัติและไม่มีการลงพระปรมาภิไธย
ให้ยกเลิกรัฐธรรมนูญย่อมมีศักดิ์เท่ากับรัฐธรรมนูญ
ประกาศของคณะปฏิวัติที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิก พระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
ให้มีศักดิ์ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมหรือยกเลิกที่แก้ไขดังกล่าว
3. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน
และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธยใช้บังคับเป็นกฎหมาย
เป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา ได้แก่ พระราชบัญญัติ เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนายินยอมของรัฐสภา
เป็นกฎหมายที่มีความสำคัญรองลงมาจากรัฐธรรมนูญ หากเกี่ยวพันกันหลายเรื่อง ออกในรูปประมวลกฎหมายก็ได้
เช่น ประมวลกฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายที่ดิน ประมวลกฎหมายรัษฎากร เป็นต้น สำหรับประมวลกฎหมายเหล่านี้เมื่อร่างเสร็จจะต้องมีพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายฉบับนั้น
ๆ อีกครั้งหนึ่ง
4. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
และทรงตราขึ้นตามคำแนะนาของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ
กรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง
หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
เมื่อตราแล้วจะต้องนาเสนอต่อรัฐสภาภายในระยะเวลาอันสั้น (2 หรือ
3 วัน) ถ้าสภาอนุมัติพระราชกำหนดก็กลายสภาพเป็นกฎหมายเสมือนพระราชบัญญัติ
ถ้าไม่อนุมัติมีอันตกไปไม่มีผล
5. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ได้มอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้
แต่ในรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ ให้พระราชอานาจไว้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราชกำหนด
ใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
และการใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภาอาจขัดข้องหรือไม่เหมาะสมกับสถานการณ์
6. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนาของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย
และพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำากว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด
และประกาศพระบรมราชโองการ และจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้ ยังมีพระราชกฤษฎีกาบางประเภทที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ
เช่น พระราชกฤษฎีกาเปิดหรือปิดสมัยประชุมสภา พระราชกฤษฎีกายุบสภา มีความสำคัญมากกว่าพระราชกฤษฎีกาที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวข้างต้น
7. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก
เพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้น ๆ
เป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหาร เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก
ถ้าสำคัญรองลงมา ก็จะออกเป็นกฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่ออกตามกฎหมายแม่บท
นอกจากกฎกระทรวง หากจะกำหนดกฎเกณฑ์ในทางปฏิบัติ จะออกระเบียบ ข้อบังคับหรือประกาศ
เพื่อความสะดวกในการบริหารงานได้อีกด้วย
3.
แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ
"กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง
ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ
โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า

จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้
ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้ (5
คะแนน)
หลังจากที่กระผมได้อ่านข่าว
“แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้” กระผมรู้สึกตกใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
เนื่องจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ควรเกิดขึ้นกับนักเรียน ซึ่งเด็กอาจกลัวจนไม่อยากไปเรียนและอาจเกิดปัญหาอื่น
ๆ ตามมา ครูควรมีความใจเย็น ไม่ใช้อารมณ์ในการตัดสินหรือแก้ปัญหา เพราะหากครูใช้อารมณ์กับนักเรียนแล้ว
นักเรียนอาจซึมซับพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์จากครู เพราะครูคือแบบอย่างของนักเรียน
เมื่อนักเรียนเห็นครูมีพฤติกรรมแบบนี้ ก็จะคิดว่า ครูทำได้ เราก็ต้องทำได้
และแน่นอนว่าผนักเรียนก็จะปฏิบัติแบบเดียวกันกับครู นอกจากนี้แล้ว ครูและผู้ปกครองควรร่วมมือกันหาวิธีหรือเทคนิคการสอนเพื่อแก้ปัญหาการอ่านของนักเรียน
ซึ่งสามารถแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้มากกว่าการใช้กำลังทุบตีนักเรียน
4. ให้นักศึกษา สวอท. ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร (5 คะแนน)
จุดแข็ง (S)
1.เวลาอาจารย์สอน
ค่อนข้างเป็นคนคิดตามสิ่งที่อาจารย์พูด
2.มาเรียนตรงเวลา
3.เตรียมเอกสาร
เนื้อหาก่อนมาเรียน
4.มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในห้องเรียน
ทำให้มีมุมมองใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอด
เรื่องที่เรียนได้
5.มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
เช่น การนำเสนอหน้า
ห้องเรียน อีกทั้งมีความมั่นใจตลอดการนำเสนอ
6.รับผิดชอบงานที่อาจารย์สั่งด้วยความตั้งใจ
จุดอ่อน (w)
1.บางครั้งอาจยึดติดในความคิดของตัวเองมากเกินไป
จนทำให้เพื่อนในห้องไม่พอใจ
2.บางครั้งรู้สึกขี้เกียจ
และผัดวันประกันพรุ่งในความตั้งใจที่จะทำงานส่งอาจารย์
3.ตัดสินใจไม่เด็ดขาด
ลังเลใจว่าควรทำอย่างนี้หรือไม่
4.เรียนหรืออ่านอะไรไปแล้วถ้าไม่ทบทวนจะลืม
5.ความรู้ภาษาอังกฤษอยู่ในระดับปานกลาง
ทำให้บางครั้งไม่เข้าในเนื้อหาวิชาและการ
นำไปวิเคราะห์
6.ไม่ค่อยอ่านหรือทบทวนหนังสือ
โอกาส (o)
1.สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
เช่น การสอนภาษาอังกฤษ
2.ในการเรียนวิชานี้สามารถนำความรู้และทฤษฎีมาวิเคราะห์ข่าว
เหตุการณ์ได้
3.อาจารย์อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจนและเน้นย้ำสิ่งที่สำคัญเสมอทุกครั้งที่สอน
อีกทั้งมีการ
ยกตัวอย่างใกล้ตัวผู้เรียน
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
4.สามารถถามอาจารย์ในสิ่งที่ไม่เข้าและอาจารย์จะตอบคำถามให้อีกครั้งอย่างชัดเจน
5.มีประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้เป็นอย่างดี
6.ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษในการแปล
และคำศัพท์ใหม่ๆ
อุปสรรค (T)
1.จำความหมายศัพท์เฉพาะบางตัวไม่ได้
2.ไม่เข้าใจในวิธีการนำทฤษฎีบางตัวไปใช้
3.ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานาน
5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร
บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย (5 คะแนน)
ข้อดี
อาจารย์มีการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาผสมผสานในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน
ทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายต่อการเรียน อีกทั้งยังมีเอกสารที่สำคัญเกี่ยวกับบทเรียนซึ่งผู้เรียนสามารถทำความเข้าใจได้ด้วยตนเอง
รู้จักใช้สื่อเทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์และก้าวทันสู่สังคมโลกยุคปัจจุบัน ในการทำงานตามที่อาจารย์มอบหมาย อาจารย์ได้ชี้แจงให้ส่งผ่านบล็อกเกอร์
เป็นอีกแนวทางหนึ่งสามารถลดค่าใช้จ่ายในการพิมพ์เอกสารของผู้เรียนอีกด้วย ซึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบนี้
ยังฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนที่มีความรับผิดชอบ สามารถนำไปใช้ทั้งในการสอนและการทำงานในอนาคต
นอกจากนี้อาจารย์ยังเป็นคนตรงต่อเวลา สอนด้วยความตั้งใจและไม่กักความรู้ อีกทั้งปรารถนาให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างเต็มที่เพื่อนำไปปรับใช้ในการสอนต่อไป
มีการถามความคิดเห็นของผู้เรียนพร้อมยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวกับผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
ข้อเสีย
การจักกิจกรรมการเรียนการสอน
อาจารย์ได้ใช้การบรรยายเป็นหลัก ทำให้ผู้เรียนไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เท่าที่ควร
และเนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ส่งผลให้ผู้เรียนบางคนไม่ตั้งใจฟัง
บางส่วนคุยกันและใช้เทคโนโลยีไปในทางอื่นมากกว่าการเรียน
นายอัครวิทย์ ลายดุล รหัสนักศึกษา 5681114005
คณะครุศาสตร์ สาขาวิชา ภาษาอังกฤษ 01
มหาวิทยาลัยราภัฎนครศรีธรรมราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น